วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562

ส่งการบ้าน ครั้งที่ 3

จัดทำ e-Portfolio                          

ประวัติ และผลงาน

นาย นรเศรษฐ์ สินประสงค์

การศึกษาระดับ     มัธยมศึกษา          โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น 111 (มหาราช)
                           ปริญญาตรี           มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ปริญญาโท            มหาวิทยาลัยสยาม  
Victoria University of Wellington 
ปริญญาเอก          Adamson University
                           หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
                           หลักสูตรจิตวิทยาแนะแนว
                           หลักสูตรนักถ่ายภาพ CANON OF JAPAN
                           หลักสูตรนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์
                           หลักสูตรโหราศาสตร์ไทย สมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
                           ฯลฯ
ตำแหน่งหน้าที่       ครู วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม
                           ผู้บริหารระดับสูง วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม
                           กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ซซัสฟรีดอมฟลาย จำกัด
                           กรรมการสมาคมนักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
                           กรรมการสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
                           กรรมการสภาวัฒนธรรมเขตหนองแขม
                           ฯลฯ
ผลงาน                 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์
                           เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุตถดิเรกคุณาภรณ์
                           ผู้บริหารครูดีเด่น สมาคมอาชีวะเอกชนแห่งประเทศไทย
                           ครู ดีเด่น สมาคมอาชีวะเอกชนแห่งประเทศไทย
                           นักจัดรายการวิทยุ FM 96.5 mhz
                           บทความ หนังสือพิมพ์ อิสระ กรมประชาสัมพันธ์
                           ช่างภาพ อิสระ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย
                           เป็นผู้พิจารณา คัดเลือกบูคคลเข้าทำงานโดยใช้เลข 13 หลัก
                           ฯลฯ
ศึกษาดูงาน           การผลิตไวน์ ณ ประเทศนิวชีแลนด์
                           การบริหารจัดการ ระบบท่องเที่ยว ประเทศนิวชีแลนด์
                           การผลิตพืชเศรษฐกิจ ออแกนิค ประเทศนิวชีแลนด์
                           การบริหารจัดการหลักสูตรการบิน และการซ่อมบำรุง ณ ประเทศเยอรมัน
                           ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยว ณ กลุ่มประเทศ บอลติก
                           ความร่วมมือด้านการศึกษาแลกเปลี่ยน ณ กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
                           ความร่วมมือด้านการศึกษาแลกเปลี่ยน ณ ประเทศอีตาลี
                           ความร่วมมือด้านการศึกษาแลกเปลี่ยนและร่วมบริหารจัดการหลักสูตร ณ ประเทศจีน
                           ความร่วมมือด้านการศึกษาแลกเปลี่ยน ณ ประเทศเกาหลีใต้
                           ฯลฯ




 



บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (ฐานข้อมูลไม่ซ้ำกัน)  5 เรื่อง

1.Effectiveness of Four Supplemental Reading Comprehension Interventions
          AUTHOR By
Susanne James-Burdumy , John Deke , Russell Gersten , Julieta Lugo-Gil , Rebecca Newman-Gonchar , Joseph Dimino , Kelly Haymond  & Albert Yung-Hsu Liu  show less
          Abstract
This article presents evidence from a large-scale randomized controlled trial of the effects of four supplemental reading comprehension curricula (Project CRISS, ReadAbout, Read for Real, and Reading for Knowledge) on studentsunderstanding of informational text. Across 2 school years, the study included 10 school districts, more than 200 schools, and more than 10,000 fifth-grade students. Schools interested in implementing 1 of the 4 supplemental curricula were randomly assigned to 1 of 4 treatment groups or to a control group. The impact analyses in the study's first year revealed a statistically significant negative impact of Reading for Knowledge on studentsreading comprehension scores and no other significant impacts. The impact of ReadAbout was positive and significant in the study's second year among teachers with 1 year of experience using the intervention.
From e-database

2. Alternative Digital Credentials: An Imperative for Higher Education. CSHE Research & Occasional Paper Series: CSHE.2.18
          AUTHOR By
          Matkin, Gary W. Center for Studies in Higher Education
          Abstract
          Alternative Digital Credentials (ADCs) will significantly transform the relationship between higher education institutions and society. By providing fully digital, workplace-relevant, and information-rich records of an individual's skills and competencies, ADCs will render traditional university transcripts increasingly irrelevant and obsolete. Universities and colleges that to not adopt in some measure the ADC movement will begin to experience a slow decline in market position and patron support. Current usage of ADCs is emerging rapidly in the marketplace and is supported by standard-setting efforts and grant funding. Usage is accelerating due to the inadequacy of the traditional transcription systems, accrediting agency requirements, demographic shifts in learning preferences, open education, and hiring practices, among others. Institutions seeking to enter the ADC movement face challenges including, 1) establishing criteria for the issuance of ADCs, 2) designing icons to represent their ADCs, 3) determining the content disclosed in the ADC, 4) selecting a method (vendor) for implementing ADCs, and 5) considering the pace of technology and the immediate future of the ADC movement, including the advent of blockchain technology. This paper provides a rationale and pathway for the institutional adoption of ADCs.

From e-database

3. A survey on opportunities and challenges of Blockchain technology adoption for revolutionary innovation
          Authors by
Phan The Duy     Information Security Laboratory, University of Information Technology, VNU-HCM, Ho Chi Minh city, Vietnam
Do Thi Thu Hien Information Security Laboratory, University of Information Technology, VNU-HCM, Ho Chi Minh city, Vietnam
Do Hoang Hien   Information Security Laboratory, University of Information Technology, VNU-HCM, Ho Chi Minh city, Vietnam
Van-Hau Pham   Information Security Laboratory, University of Information Technology, VNU-HCM, Ho Chi Minh city, Vietnam

Abstract
In the "Industry 4.0" era, blockchain as well as related distributed ledger technologies has been an unmissable trend for both academy and industry recently. Blockchain technology has become famous as the innovative technology that underlies cryptocurrencies such as Bitcoin and Ethereum platform. It also has been spreading with multiple industries ...
          From e-database

4. Blockchain-based sharing services: What blockchain technology can contribute to smart cities
          Authors by
          Jianjun Sun, Jiaqi Yan and Kem Z. K. Zhang
          Abstract
          Background The notion of smart city has grown popular over the past few years. It embraces several dimensions depending on the meaning of the word smartand benefits from innovative applications of new kinds of information and communications technology to support communal sharing.
Methods By relying on prior literature, this paper proposes a conceptual framework with three dimensions: (1) human, (2) technology, and (3) organization, and explores a set of fundamental factors that make a city smart from a sharing economy perspective.

Results Using this triangle framework, we discuss what emerging blockchain technology may contribute to these factors and how its elements can help smart cities develop sharing services.
ConclusionsThis study discusses how blockchain-based sharing services can contribute to smart cities based on a conceptual framework. We hope it can stimulate interest in theory and practice to foster discussions in this area.
          From e-database

5. Design of the Blockchain Smart Contract: A Use Case for Real Estate
          Authors by
          Ioannis Karamitsos1, Maria Papadaki2, Nedaa Baker Al Barghuthi2
          ABSTRACT
Blockchain is a fast-disruptive technology becoming a key instrument in share economy. In recent years, Blockchain has received considerable attention from many researchers and government institutions. This paper aims to present the Blockchain and smart contract for a specific domain which is real estate. A detailed design of smart contract is presented and then a use case for renting residential and business buildings is examined.
          From e-database
          https://www.scirp.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=85741



 บทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ภาษาไทย 5 เรื่อง


1-Titleการศึกษาพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคเหนือ
Title AlternativeThe Study of Administrator's Behavior and Job Effectivess in the View of Administrators and Staff of Rajamongala Institute of Technology in the Northern Campuses
Name: สิทธากร พลาอาด
Subjectkeyword: ผู้บริหาร
ThaSH:  ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา   -- วิจัย
Classification :.DDC: 378.11072 ส34ก
DescriptionAbstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และอาจารย์ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคเหนือ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคเหนือเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงาน ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งพฤติกรรมการบริหารออกเป็น 7 งาน คือ งานวิชาการ งานบริหาร งานกิจการนักศึกษา งานบริการการศึกษา งานวิจัยและฝึกอบรม งานวางแผนและพัฒนา งานกิจการพิเศษ ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาผู้บริหาร และพัฒนาการบริหาร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารงานของผู้บริหารสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้บริหาร จำนวน 43 คน ศึกษาจากประชากรและอาจารย์จำนวน 259 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Mogan ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 312 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ พฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานของผู้บริหารสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคเหนือ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ เกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัว ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จำนวน 58 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และอาจารย์ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคเหนือ ผู้บริหาร และอาจารย์มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับที่เห็นด้วย ทุกรายการ คืองานวิชาการ งานบริหาร งานกิจการนักศึกษา งานบริการการศึกษา งานวิจัยและฝึกอบรม งานวางแผนและพัฒนา งานกิจการพิเศษ และมีบางพฤติกรรมที่ผู้บริหาร และอาจารย์เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และไม่เห็นด้วย คือ พฤติกรรมที่ผู้บริหารเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานวิชาการ คือ การประชุมชี้แจงให้เข้าใจมาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาการ จุดมุ่งหมาย หลักการโครงสร้างหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผล พฤติกรรมที่ผู้บริหารเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานกิจการนักศึกษา คือ การกล่าวชมเชยและ/หรือ ให้รางวัลนักศึกษาที่ทำความดีต่อหน้าสาธารณชน พฤติกรรมที่ผู้บริหารเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานวิจัยและฝึกอบรม คือ การแสดงท่าทางยินดีอำนวยความสะดวก และสนับสนุนให้ผู้สนใจทำงานวิจัย และรับการฝึกอบรม และ ผู้บริหารกับผู้ร่วมงานควรกำหนดระเบียบหรือเกณฑ์ในการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนงานวิจัย และฝึกอบรม และเผยแพร่ให้อาจารย์ทราบ เป็นต้น พฤติกรรมที่ผู้บริหารไม่เห็นด้วยว่าเป็นพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานวิชาการ คือ ผู้บริหารแสดงท่าทางไม่พอใจ และตำหนิ เมื่องานวิชาการไม่เสร็จตามกำหนด โดยไม่ฟังเหตุผล ผู้บริหารเขียนข้อความสั้น ๆ สั่งการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วยตนเอง พฤติกรรมที่ผู้บริหารและอาจารย์ ไม่เห็นด้วยว่าเป็นพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิด ประสิทธิผลในการดำเนินงานกิจการพิเศษ คือ ผู้บริหารแสดงท่าทางเฉย ๆ ต่อเรื่องความขัดแย้งเกี่ยวกับงานกิจการพิเศษ พฤติกรรมที่อาจารย์ ไม่เห็นด้วย ว่าเป็นพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานวิชาการ คือผู้บริหารเขียนข้อความสั้น ๆ สั่งการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วยตนเอง พฤติกรรมที่อาจารย์ ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานวิชาการ คือ ผู้บริหารแสดงท่าทางไม่พอใจ และตำหนิ เมื่องานวิชาการไม่เสร็จตามกำหนด โดยไม่ฟังเหตุผล 2. ความคิดเห็นของผู้บริหาร และความคิดเห็นของอาจารย์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงาน งานบริหาร งานกิจการนักศึกษา งานบริการการศึกษา งานวิจัยและฝึกอบรม และงานวางแผนและพัฒนาส่วนพฤติกรรมการบริหารที่ทำให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานวิชาการ และงานกิจการพิเศษ ผู้บริหาร และอาจารย์มีความคิดเห็น ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Publisher บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์

2-การศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎจราจร ศึกษาเฉพาะ กรณี : การใช้สะพานลอยในการข้ามถนนของนักศึกษาสถาบันราชภักนครปฐม
CreatorName: ทรงพล ศรีวิบูลย์
CreatorName: บวร งวนหอม
CreatorName: ประทีป รัตน์นุ่มน้อย
CreatorName: ศุภสิทธิ์ ลีฬหรัตนรักษ์
CreatorName: อาคม เพิ่มสุข
SubjectThaSH:   สถาบันราชภัฏนครปฐม - - นักศึกษา.
Classification :.DDC: 388.132
ThaSH:  นักศึกษา - -พฤติกรรม - -วิจัย.
ThaSH:  สะพานลอย.
DescriptionAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎจราจร ศึกษาเฉพาะกรณีการใช้สะพานลอยในการข้ามถนนของนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสถาบันราชภัฏนครปฐม ภาคปกติ จำนวน 150 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ช่วงเวลาก่อนเข้าเรียน คือ ตั้งแต่ 7.30 -8.30 น. นักศึกษาข้ามถนนโดยไม่ใช้สะพานลอยมีจำนวนน้อยกว่านักศึกษาที่ข้ามถนนโดยใช้สะพานลอย ส่วนช่วงเวลาหลังเลิกเรียนคือ ตั้งแต่ 15.30 16.30 น. มีนักศึกษาข้ามถนนโดยไม่ใช้สะพานลอยมากกว่านักศึกษาที่ข้ามถนนโดยใช้สะพานลอย เมื่อพิจารณาตามเพศพบว่า นักศึกษาหญิงข้ามถนนโดยไม่ใช้สะพานลอยมากกว่านักศึกษาชาย และจากข้อมูลแบบสอบถามที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครปฐม ภาคปกติ จำนวน 150 ชุด พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สะพานลอยที่อยู่ในระดับ ปานกลาง มีอยู่ด้วยกัน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านปัญหาสุขภาพ, ด้านการเฝ้าตรวจตราของเจ้าหน้าที่ตำรวจ, ด้านการได้รับความรู้ในการปฏิบัติตามกฎจราจร, ด้านพฤติกรรมการใช้สะพานลอยของกลุ่มเพื่อน ด้านสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และด้านการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สะพานลอยที่มีอยู่ในระดับมาก มีอยู่ด้วยกัน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรีบเร่งส่วนบุคคล, ด้านสภาพอากาศ, ด้านลักษณะของสะพานลอย และด้านความหนาแน่นของจำนวนรถยนต์ที่แล่นบนท้องถนน
Publisher Nakhon Pathom Rajabhat University, Academic Resources and Information Technology Center


3-Titleการศึกษาพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา
Title AlternativeA Study of Behaviors in Conflict Administration of Primary School Administrators in Nakhon Ratchasima
CreatorName: อรุณี ชอบพิมาย
Subjectkeyword: ความขัดแย้ง(จิตวิทยา)
ThaSH:  การศึกษา
Classification :.DDC: 372.1201
ผู้บริหารโรงเรียน
DescriptionAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของ ผู้บริหารโรงเรียน และเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมาจำแนกตามขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งและวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 891 คน เป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 297 คน ครูผู้สอน 594 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพโดยทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบประเมินพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน และตอนที่ 3 แบบแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (ttest) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน มีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ ในการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ครูผู้สอนที่มีวุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน มีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน มีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้านการประนีประนอม ด้านการเผชิญหน้า ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านการร่วมมือกัน และด้านการใช้อำนาจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ความคิดเห็นเพิ่มเติม เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของ ผู้บริหารโรงเรียน ที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีความคิดเห็นร่วมกันตามลำดับดังต่อไปนี้ ด้านการประนีประนอม คือ ควรใช้หลักธรรมในการบริหารเพื่อให้เกิดความยุติธรรม ด้านการเผชิญหน้า คือ ควรให้คู่กรณีที่มีความขัดแย้ง มาพบเพื่อพูดกันในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ด้านการหลีกเลี่ยงคือไม่รับรู้ว่ามีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นในองค์การของตนเองคอยหลบหน้า ไม่ยอมเจรจาโดยไม่สนในต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่ชอบอยู่โรงเรียน ด้านการร่วมมือกัน คือ ร่วมมือร่วมใจกันในการพิจารณาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ความคิดร่วมกันในการวินิจฉัยปัญหาเพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงาน และด้านการใช้อำนาจ คือ พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการของตนเอง โดยเสนอให้ผู้อื่นรับรู้วิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองเท่านั้น The objectives of the thesis aimed at studying the conflict administrating behaviors of school administrators and comparing the conflict administrating behaviors to those perceived by the primary school administrators and teachers in Nakhon Ratchasima, regarding the school sizes, administrative experiences, and education qualifications. The sample group randomly stratified to be studied were 297 school administrators and 594 school teachers. The research instruments in data collection employed a rating scale questionnaire divided into three parts. The first part was the general status of the respondents whereas the second part was the evaluation of the conflict administrating behaviors of the school administrators. The third part was the additional comments towards the conflict administrating behaviors of the primary school administrator, perceived by school administrators and teachers. Meanwhile, frequency distribution, percentage, means ( ), standard deviation (S.D), t-test, and One-way ANOVA were employed in data analysis. The findings of the study revealed that : 1. School administrators and teachers showed their attitudes towards the conflict administrating behaviors of school administrators at the average level. 2. Regarding to the attitudes of school administrators having different administrative experiences, educational qualifications, and working in different school sizes, towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators, there was no statistically significant difference at the .05 level. 3. Regarding to the attitudes of school teachers having different administrative experiences, towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators, there was no statistically significant difference at the .05 level. 4. Regarding to the attitudes of school teachers having different education qualifications and working in different school sizes, towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators, there was a statistically significant difference at the .05 level. 5. Regarding to the attitudes of school administrators and teachers, towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators, in terms of the compromise aspect, the confrontation aspect, the avoidance aspect, the cooperation aspect, and the authorization aspect, there was a statistically, significant difference at the .05 level. 6. The school administrators and teachersadditional comments towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators were listed simultaneously. In terms of compromise, moral principles should be used in administration. In terms of confrontation, opponents should be allowed to discuss in solving problems. In terms of avoidance, administrators tried not to understand the organization happenings, avoided to negotiate, paid no interest in the situations and were out of school. In terms of cooperation, administrators cooperatively considered the problems, analyzed the problems for the benefit of job administration. In terms of authorization, administrators tried the best to get what they wanted by presenting only their own problem solving approaches to others.
Publisher สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

4-Titleการศึกษาพฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าภาควิชาตามทัศนะของหัวหน้าภาควิชาและอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Title AlternativeA Study of the Department Heads Human Relationship Behaviors as Perceived by Department Heads and Instructors at Nursing Colleges in the Northeast
CreatorName: ลออวรรณ อึ้งสกุล
Subjectkeyword: สังคมศาสตร์
ThaSH:  มนุษยสัมพันธ์- -วิจัย
Classification :.DDC: 302.5
ThaSH:  พฤติกรรมมนุษย์- -วิจัย
DescriptionAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าภาควิชา ตามทัศนะของหัวหน้าภาควิชาและอาจารย์พยาบาล และเปรียบเทียบพฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าภาควิชาตามทัศนะของหัวหน้าภาควิชาและอาจารย์พยาบาลตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง จำนวนสมาชิกในภาควิชา วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงานในภาควิชา และตำแหน่งงาน โดยศึกษาจากหัวหน้าภาควิชา ที่เป็นประชากรจำนวน 32 คน และ กลุ่มตัวอย่างอาจารย์พยาบาลจำนวน 97 คน รวม 129 คน ของวิทยาลัยพยาบาลที่มีการบริหารงานแบบภาควิชาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี นครราชสีมา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าจำนวน 1 ชุด แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 พฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้า ภาควิชา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน t-test และ One way analysis of variance ผลการวิจัยสรุปว่า 1. หัวหน้าภาควิชาและอาจารย์พยาบาลมีทัศนะต่อพฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าภาควิชาอยู่ในระดับมาก 2. หัวหน้าภาควิชาที่มีจำนวนสมาชิกในภาควิชา ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง และ วุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีทัศนะต่อพฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าภาควิชา ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 3. อาจารย์พยาบาลที่มีประสบการณ์การทำงานในภาควิชาแตกต่างกัน มีทัศนะต่อ พฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าภาควิชา ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 4. อาจารย์พยาบาลที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกัน มีทัศนะต่อพฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าภาควิชา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. หัวหน้าภาควิชาและอาจารย์พยาบาลมีทัศนะต่อพฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าภาควิชาด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านบุคลิกภาพภายใน และด้านความรับผิดชอบตามตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านบุคลิกภาพภายนอก ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 จากผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ของหัวหน้าภาควิชา ตามทัศนะของอาจารย์พยาบาลอยู่ในระดับมาก แตกต่างจากทัศนะของหัวหน้าภาควิชา ในด้านการติดต่อ สื่อสาร ด้านบุคลิกภาพภายใน และด้านความรับผิดชอบตามตำแหน่ง ดังนั้นหัวหน้าภาควิชาควรศึกษาและพัฒนาการแสดงพฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ใน 3 ด้านให้เหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้อาจารย์พยาบาลเกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานในภาควิชาให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น This research aimed to study the behaviors of the human relationships of the department heads as perceived by the department heads and instructors and to compare the behavior in accordance with: duration in the position; position in department; number of the members in the department; education and working experience. This research was studied from 32 population of the department heads and 97 samples of the instructors, from four nursing colleges administrated by departments which are Boromarajonani Nakhon Ratchasima Nursing College, Srimahasarakam Nursing College, Boromarajonani Udorntanee Nursing College and Boromarajonani Nakhonpanom Nursing College in the Northeast region. The instrument for data collection was rating scale questionnaire. The questionnaire consists of 2 parts. Part one is the general information. Part two is the behaviors of the human relationships of the department heads. Descriptive statistics, t-test and one way analysis of variance were employed for data analysis. The results showed that 1. The behaviors of the human relationships of the department heads as perceived by the department heads and instructors were high. 2. Department heads with different amount of the members in department ; duration in position and education as perceived by the behaviors of the human relationships of the department heads were not significantly different at the .05 level. 3. The behaviors of the human relationships of the department heads as perceived by instructors who had different working experiences were not significantly different at the .05 level. 4. The behaviors of the human relationships of the department heads as perceived by instructors who had different education were significantly different at the .05 level. 5. Department heads and Instructors perception on the behaviors of the human relationships of the department heads were significantly different at the .05 level in three elements : communications ; internal personality ; working responsibility. However their perceptions on external personality were not significantly different at the .05 level. According to the research findings, the instructorsperceptions of the human relationships of the department heads were different from the department heads in communications, internal personality and working responsibility in the position in department. This study suggested that the department heads should study and develop their behaviors of the human relationships in three elements in order to facilitate instructors so that the instructors will be able to co-operate in working more efficiency.
Publisher สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

5-Titleการปฏิบัติการพัฒนาทักษะการซ่อมระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ วิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรพุทธศักราช 2545 สาขางานยานยนต์ คณะวิชาเครื่องกล วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี
Title AlternativeA workshop on developing skills of repairing the electronic fuel injection system in the electronic fuel injection system work subject in the vacational certificate curriculum at Auto mechanic and Mechanical Technology Department, Ubon Ratchathani Polytechnic College

CreatorName: ชลอ พลนิล
Subjectkeyword: ระบบฉีดเชื้อเพลิง
ThaSH:  ยานยนต์
Classification :.DDC: 629.2
ThaSH:  วิศวกรรมเครื่องยนต์
DescriptionAbstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติการพัฒนาทักษะการซ่อมระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ วิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ในด้านทักษะกระบวนการทางวิชาชีพ และด้านพฤติกรรมในชั้นเรียน และเพื่อศึกษาผลการปฏิบัติ การพัฒนาทักษะการซ่อมระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ วิชางานระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนและหลังในด้านทักษะกระบวนการทางวิชาชีพ และด้านพฤติกรรมในชั้นเรียนของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรพุทธศักราช 2545 สาขางานยานยนต์ คณะวิชาเครื่องกล วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 20 คน ในภาคเรียนที่ 2/2550 การวิจัยในครั้งนี้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการวางแผน (Planning) ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผน (Action) ขั้นสังเกต (Observation) และขั้นตอนการสะท้อนผล (Reflection) ดำเนินการ 3 วงจรปฏิบัติการ คือ วงจรที่ 1 ปฏิบัติงานระบบน้ำมันเชื้อเพลิง วงจรที่ 2 ปฏิบัติงานระบบประจุอากาศ วงจรที่ 3 ปฏิบัติงานระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ MIAP จำนวน 10 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบประเมินตนเองด้านการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดภาคปฏิบัติ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ได้ทำการวิเคราะห์ข้อสอบโดยหาค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.66 และแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) หลังเรียน (Posttest) ชนิดแบบเลือกตอบวงจรละ 20 ข้อ 3 วงจรรวม 60 ข้อ โดยได้วิเคราะห์ข้อสอบหาอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการบรรยายเชิงพรรณนา ส่วนการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ Wilcoxon คำนวณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ผู้วิจัยได้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการซ่อมระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เทคนิคและวิธีการสอบวิชาชีพในรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ MIAP โดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสอนใจปัญหา (Motivation) 2) ขั้นศึกษาข้อมูล (Information) 3) ขั้นพยายาม (Application) และ 4) ขั้นสำเร็จผล (Progress) ซึ่งนำมาใช้ควบคู้กับรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการซ่อมระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม มีการวางแผนเป็นระบบ มีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูล และมีการสะท้อนผลปฏิบัติการนำไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ MIAP ในวงจรต่อไป จึงทำให้เกิดการพัฒนาด้านทักษะกระบวนการทางวิชาชีพและด้านพฤติกรรมในชั้นเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรพุทธศักราช 2545 สาขางานยานยนต์ คณะเครื่องกล วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี จนทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด่านวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 2. ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ นักเรียนสามารถปรับพฤติกรรมตนเองในภาพรวมได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .518 คิดเป็นร้อยละ 79.66 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 60 นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ MIAP มีผลแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ในการพัฒนาทักษะการซ่อมระบบฉีดเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.39/67.63 ซึ่ง ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70/70 เนื่องจาก มีผลรวมของคะแนนก่อนเรียนสูงเนื่องจากมีการเก็บคะแนนหลายครั้ง เป็นผลรวมของคะแนนหลังเรียนจากการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพียงครั้งเดียว โดยไมมีผลกระทบกับเกณฑ์อื่นแต่อย่างใด และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับร้อยละ 75 สูงกว่าเกณฑ์กำหนดร้อยละ 20 The objective of this research were to study a workshop on developing skills of repairing the electronic fuel injection system in the electronic fuel injection system work subject in both vocational process skills and classroom behavior and to study the result of the performance pretest and posttest on the skills of repairing the electronic fuel injection system and classroom behavior of level vocational certificate students according to 2545 B.E. curriculum at Auto mechanic and Mechanical Technology Department, Ubon Ratchathani Polytechnic College by using the learning plans which focused on the process of vocational skills. The selected sample of this research were 20 second year vocational certificate students who studied in semester 2/2550 via an action research which consisted of 4 steps including Planning, Action, Observation and Reflection, and these steps were conducted in 3 phases as the followed: the first phase was the operation of fuel system, the second phase was the air induction system, and the third phase was the control system via computer. The tool of this research were comprised 10 MIAP learning plans and the data collection tool included an observation form, a self-report form, a student interview form, a practice form and a learning achievement test which was a multiple choice, test with 40 issues with 4 choices for each. The analysis was conducted by calculation the discriminating power which ranged from .20 to 1.00, the reliability of whole issue was 0.66 and pretest and posttest of 60 multiple choice items. The analysis of the test was conducted to calculate the discriminating power which ranged from .20 to 1.00, and the reliability of whole issue was 0.80. The qualitative data were analyzed by the descriptive analysis and the quantitative data were analyzed using Percentage, Mean and Standard Deviation, the hypothesis test was conducted unisng the Wincoxon Singed Ranks test and all data were calculated by using software package. The findings were as followed: 1. As for study of this action research, the researcher got the main idea from the learning plan activities for developing the skills of repairing the electronic fuel injection system by using technique and vocational teaching method in the form of MIAP learning plan, which comprised 4 steps as follows 1) Motivation 2) Information 3) Application and 4) Progress, these steps were applied with the action research simultaneously to develop the skills of repairing the electronic fuel injection system, making the plans systemically. Observing and gathering data revealed feedback of performance in order to adjust the MIAP learning plans in the next cycle. Therefore, the vocational skill process and the classroom behavior of level vocational certificate student according to 2545 Buddhist Era curriculum could be developed at Auto mechanic and Mechanical Technology Department, Ubon Ratchathani Polytechnic College. As a result of the students could attain better learning achievement directly. This method was very suitable for holding the learning plan activities of vocational skills. 2. From the study of learning behavior, the mean score of activities to develop the students who could adjust their behavior by themselves was approximately 2.39 and standard deviation was .518 or 79.66%, which were higher than the standard criteria (60%). As for the students who studied with the MIAP learning plans, there was the difference of score between pretest and posttest significantly at .01. As for the efficacy of learning plans for the development of the skills of repairing the electronic fuel injection system, was 881.39/67.63. However was lower than the standard criteria (70/70), gained the total score in pretest higher because the data collection was conducted many times. The total score of for posttest from the test of learning achievement was conducted only one time, which affected other criteria, and the efficiency index was 75% , which was higher than standard criteria (20%).
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: อุบลราชธานี


6-Titleการปฏิบัติการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของ6นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคำบง 1 อำเภอนิคมคำสร้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT
Title AlternativeThe Action Research for the Development of Creative ThinkingSkill in Mathematics of Prathomsuksa 4 Students through 4 MAT Learning Model at Ban Khambong 1 School, NikhomKhamsoi District, Mukdaharn Educational Service Area

CreatorName: ประทุมวัลย์ ทองมนต์
Subjectkeyword: การคิดสร้างสรรค์
ThaSH:  นักเรียนประถมศึกษา
Classification :.DDC: 372.7
ThaSH:  คณิตศาสตร์ - การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ThaSH:  คณิตศาสตร์
DescriptionAbstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ให้ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคำบง 1 และ 2) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคำบง 1 อำเภอนิคมคำสร้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT จำนวน 18 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบทดสอบการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ (2) แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT (3) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู (4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน (5) แบบสัมภาษณ์นักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ โดยการปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร ประกอบด้วย ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นสังเกตการณ์ 4) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ประกอบด้วย การดำเนินการ 8 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นสร้างประสบการณ์ (ใช้สมองซีกขวา) จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้สื่อของจริง เกม เพลง เป็นตัวกระตุ้น ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงประสบการณ์ดังกล่าวมาเป็นประสบการณ์ของตนเอง 2) วิเคราะห์ประสบการณ์ (ขั้นใช้สมองซีกซ้าย) โดยการอภิปรายวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดจากประสบการณ์ในขั้นที่ 1 3) ขั้นปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด (ใช้สมองซีกขวา) โดยให้นักเรียนค้นคว้าหาข้อสรุป จากประสบการณ์และสถานการณ์ 4) ขั้นมุ่งหลักการ (ใช้สมองซีกซ้าย) เป็นการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากใบความรู้ 5) ขั้นลงมือปฏิบัติตามหลักการ (ใช้สมองซีกซ้าย) เป็นการทำงานตามใบงานหรือทำตามขั้นตอนที่กำหนด 6) ขั้นสร้างผลงานตามความถนัด (ใช้สมองซีกขวา) การลงมือปฏิบัติงานในการสร้างชิ้นงานในใบงานตามความสามารถ 7) ขั้นวิเคราะห์ชิ้นงานและแนวทางในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (ใช้สมองซีกซ้าย) เป็นการนำเสนอผลงาน อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดในกลุ่ม 8) ขั้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (ใช้สมองซีกขวา) เป็นการจัดป้ายนิเทศแสดงผลงานให้นักเรียนได้นำเสนอผลงาน อภิปรายผลงานให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้พร้อมการประเมินผลงาน จากการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนและการสัมภาษณ์นักเรียน พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ทำงานเป็นกลุ่ม ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนใจและตามความถนัดของตนเอง มีอิสระในการคิด สามารถคิดได้หลากหลายแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ส่งผลให้นักเรียนสามารถพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้น 2. ผลการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT พบว่า นักเรียนร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ขึ้นไป This research aimed to 1) develop creative thinking skill in Mathematics of Prathomsuksa 4 students at Ban Khambong 1 School learning through 4 MAT learning model and 2) to study the results of the development of creative thinking skills of the Prathomsuksa 4 Students learning through 4 MAT learning model. The target group of this study was 20 Prathomsuksa 4 students at Ban Khambong 1School in the second semester of the academic year 2007. The research instruments included 18 lesson plans of 4 MAT learning model and the instruments for result reflection of the practices which included a test on mathematics creative thinking, the result recoding form after leaning through the 4 MAT, the observation form for teachers behaviors in learning management, the observation form for the studentslearning behaviors, and the student interviewing form. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and test of Wilcox on Sign Ranks. The findings were as follows: 1. This research was conducted in three cycles which included a four step process: planning, acting observing, and reflecting results through the 4 MAT learning process comprising 8 stages: 1) creating experience (using the right brain) using authentic objects, games, songs, to relate these experiences to the studentsown experiences, 2X analyzing experiences( using the left brain) through discussion, 3) adjust the experiences to concept (using the right brain) through making conclusion form the experiences and situations, 4) developing principles (using the left brain) by collecting information from worksheets, 5X acting according to the principles (using the left brain) through working on worksheets or following the steps of assigned tasks, 6) creating work under the work sheets according to none own aptitude (using the right brain) 7) analyzing the products and suggesting ways to make them useful (using the left brain) through group discussion, and 8) exchanging experiences (using the right brain) through various forms of presentations and evaluations. From the observation and interview, it was found that the 4 MAT process of leaning allowed the students to meet their individual needs through performing individual tasks, group works, activities of one own interest and ability, They were free to create their own ideas which resulted in the better development of their creative thinking skill. 2. According to developing mathematics creative thinking skill through the 4 MAT learning mode, 70 percentage of participants acquired 50 percent increase in their mathematical creative thinking scores.
Publisher มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: อุบลราชธานี
Email: info.lib@ubru.ac.th

ส่งการบ้าน ครั้งที่ 3 จัดทำ e-Portfolio                            ประวัติ และผลงาน นาย นรเศรษฐ์ สินประสงค์ การศึกษาระดับ     มั...