การศึกษาพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา
A Study of Behaviors in Conflict Administration of Primary School Administrators in Nakhon Ratchasima
Name: อรุณี ชอบพิมาย
keyword: ความขัดแย้ง(จิตวิทยา)
ThaSH: การศึกษา
Classification :.DDC: 372.1201
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของ ผู้บริหารโรงเรียน และเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมาจำแนกตามขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งและวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 891 คน เป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 297 คน ครูผู้สอน 594 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพโดยทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบประเมินพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน และตอนที่ 3 แบบแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t–test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 2. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน มีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ ในการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ครูผู้สอนที่มีวุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน มีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน มีทัศนะต่อพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ด้านการประนีประนอม ด้านการเผชิญหน้า ด้านการหลีกเลี่ยง ด้านการร่วมมือกัน และด้านการใช้อำนาจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ความคิดเห็นเพิ่มเติม เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของ ผู้บริหารโรงเรียน ที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีความคิดเห็นร่วมกันตามลำดับดังต่อไปนี้ ด้านการประนีประนอม คือ ควรใช้หลักธรรมในการบริหารเพื่อให้เกิดความยุติธรรม ด้านการเผชิญหน้า คือ ควรให้คู่กรณีที่มีความขัดแย้ง มาพบเพื่อพูดกันในการร่วมกันแก้ไขปัญหา ด้านการหลีกเลี่ยงคือไม่รับรู้ว่ามีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นในองค์การของตนเองคอยหลบหน้า ไม่ยอมเจรจาโดยไม่สนในต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและไม่ชอบอยู่โรงเรียน ด้านการร่วมมือกัน คือ ร่วมมือร่วมใจกันในการพิจารณาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้ความคิดร่วมกันในการวินิจฉัยปัญหาเพื่อทำให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงาน และด้านการใช้อำนาจ คือ พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการของตนเอง โดยเสนอให้ผู้อื่นรับรู้วิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองเท่านั้น The objectives of the thesis aimed at studying the conflict administrating behaviors of school administrators and comparing the conflict administrating behaviors to those perceived by the primary school administrators and teachers in Nakhon Ratchasima, regarding the school sizes, administrative experiences, and education qualifications. The sample group randomly stratified to be studied were 297 school administrators and 594 school teachers. The research instruments in data collection employed a rating scale questionnaire divided into three parts. The first part was the general status of the respondents whereas the second part was the evaluation of the conflict administrating behaviors of the school administrators. The third part was the additional comments towards the conflict administrating behaviors of the primary school administrator, perceived by school administrators and teachers. Meanwhile, frequency distribution, percentage, means ( ), standard deviation (S.D), t-test, and One-way ANOVA were employed in data analysis. The findings of the study revealed that : 1. School administrators and teachers showed their attitudes towards the conflict administrating behaviors of school administrators at the average level. 2. Regarding to the attitudes of school administrators having different administrative experiences, educational qualifications, and working in different school sizes, towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators, there was no statistically significant difference at the .05 level. 3. Regarding to the attitudes of school teachers having different administrative experiences, towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators, there was no statistically significant difference at the .05 level. 4. Regarding to the attitudes of school teachers having different education qualifications and working in different school sizes, towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators, there was a statistically significant difference at the .05 level. 5. Regarding to the attitudes of school administrators and teachers, towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators, in terms of the compromise aspect, the confrontation aspect, the avoidance aspect, the cooperation aspect, and the authorization aspect, there was a statistically, significant difference at the .05 level. 6. The school administrators and teachers’ additional comments towards the conflict administrating behaviors of primary school administrators were listed simultaneously. In terms of compromise, moral principles should be used in administration. In terms of confrontation, opponents should be allowed to discuss in solving problems. In terms of avoidance, administrators tried not to understand the organization happenings, avoided to negotiate, paid no interest in the situations and were out of school. In terms of cooperation, administrators cooperatively considered the problems, analyzed the problems for the benefit of job administration. In terms of authorization, administrators tried the best to get what they wanted by presenting only their own problem solving approaches to others.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Email: si_num42@hotmail.com
Name: เศาวนิต เศาณานนท์
Role: ประธานกรรมการ
Name: วนิดา เดชตานนท์
Role: กรรมการ
Name: สถิตย์ กองคำ
Role: กรรมการ
Created: 2546
Issued: 2548-08-06
Text.Thesis.Masters
application/pdf
ISBN: 9743161996
CallNumber: 372.1201
tha
DegreeName: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Level: ปริญญาโท
Descipline: การบริหารการศึกษา
Grantor: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น